Tibetan-Polyandry

Tibetan Polyandry : เมื่อภรรยาหนึ่งเดียวมีสามีหลายคน วัฒนธรรมสุดเฉพาะของชาวทิเบต

สวัสดีค่ะ! วันนี้ TravelZeed จะพาทุกคนไปรู้จักกับวัฒนธรรมการแต่งงานที่แปลก แต่น่าสนใจของชาวทิเบต นั่นคือ ระบบ “Polyandry” หรือ การที่ผู้หญิงหนึ่งคนแต่งงานกับผู้ชายหลายคนในเวลาเดียวกัน! ฟังดูแปลกใช่ไหมคะ? แต่รู้ไหมว่า นี่เป็นวัฒนธรรมที่มีมายาวนาน และมีเหตุผลที่น่าสนใจมาก ๆ เลยค่ะ ถ้าพร้อมแล้ว!! ไปทำความรู้จักกับวัฒนธรรมนี้กันค่าาาา 

 

Tibetan Polyandry12

Polyandry คืออะไร?

Polyandry มาจากรากศัพท์ภาษากรีก โดย “Poly” แปลว่า “หลาย” และ “Andros” แปลว่า “ผู้ชาย” เมื่อรวมกันจึงหมายถึง การแต่งงานระหว่างผู้หญิงหนึ่งคนกับผู้ชายหลายคนในเวลาเดียวกัน ซึ่งถือเป็นรูปแบบการแต่งงานที่พบได้น้อยมากในสังคมมนุษย์ 

Tibetan Polyandry คือ รูปแบบการแต่งงานแบบพี่น้องร่วมภรรยา (fraternal polyandry) ที่พบในสังคมทิเบต ซึ่งเป็นการที่ผู้หญิงหนึ่งคนแต่งงานกับพี่น้องผู้ชายหลายคนในครอบครัวเดียวกัน ระบบนี้มีเป้าหมายเพื่อรักษาทรัพย์สินและที่ดินของครอบครัวให้คงอยู่โดยไม่ต้องแบ่งแยก การแต่งงานแบบนี้ช่วยให้ครอบครัวสามารถจัดการทรัพยากรที่มีจำกัดในพื้นที่สูงของทิเบตได้อย่างยั่งยืน

ทำไมต้อง Polyandry?

คุณอาจจะสงสัยว่า “ทำไมถึงต้องมีสามีหลายคน?” คำตอบนี้น่าสนใจมากๆ ค่ะ

1. การรักษาที่ดินและทรัพย์สิน ในธิเบต พื้นที่เพาะปลูกมีจำกัดมาก ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงและที่ราบสูงที่หนาวเย็น การแบ่งที่ดินให้ลูกชายทุกคนจะทำให้แต่ละคนมีที่ดินน้อยเกินไปจนไม่สามารถเลี้ยงครอบครัวได้ การให้พี่น้องแต่งงานกับผู้หญิงคนเดียวกันจึงเป็นวิธีรักษาที่ดินให้อยู่ในครอบครัวได้ดีที่สุดค่ะ

2. การจัดการแรงงาน ชีวิตบนที่ราบสูงไม่ใช่เรื่องง่าย! ต้องทำการเกษตร เลี้ยงจามรี (วัวทิเบต) และบางครั้งต้องเดินทางไกลเพื่อค้าขาย การมีสามีหลายคนทำให้สามารถแบ่งงานกันทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถ้าให้เห็นภาพง่าย ๆ ก็คือ คนหนึ่งอาจออกไปค้าขาย, อีกคนดูแลปศุสัตว์, คนที่เหลือทำการเกษตร

3. การควบคุมประชากร ในประเทศที่ที่มีทรัพยากรจำกัด การมีลูกหลายคน อาจเป็นภาระ Polyandry จึงเป็นวิธีธรรมชาติและดีที่สุดในการควบคุมประชากร

กฎเกณฑ์ของการอยู่ร่วมกันในแบบฉบับ Tibetan Polyandry

Tibetan Polyandry5

  1. การแบ่งหน้าที่ชัดเจน : พี่น้องแต่ละคนจะรับหน้าที่ในครอบครัวอย่างชัดเจน เช่น คนหนึ่งดูแลการทำไร่ คนหนึ่งจัดการเลี้ยงสัตว์ และคนสุดท้ายอาจมีหน้าที่ค้าขาย สิ่งนี้ทำให้ครอบครัวสามารถบริหารทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทุกคนก็จะรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของครอบครัว
  2. ความเสมอภาคในการดูแลภรรยา : ภรรยาจะต้องได้รับการดูแลจากสามีทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความเคารพและความสำคัญของเธอในฐานะหัวใจหลักของครอบครัวใหญ่ การสื่อสารและการปรับตัวจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้ทุกคนในบ้านรู้สึกอบอุ่นและเข้าใจกัน
  3. การตัดสินใจที่เป็นเอกฉันท์ : การตัดสินใจในครอบครัวต้องเป็นเอกฉันท์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจัดการที่ดิน การเงิน หรือการวางแผนอนาคต กฎนี้ช่วยลดความขัดแย้งและทำให้ทุกคนรู้สึกว่าเสียงของตนเองมีความหมายในครอบครัว

การสร้างความสัมพันธ์ที่มั่นคงระหว่างพี่น้อง ใน Tibetan Polyandry ความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้องเป็นสิ่งสำคัญมาก ทุกคนต้องเรียนรู้ที่จะเคารพ และเชื่อใจกัน สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ทำให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวไม่ใช่แค่เพียงการแบ่งปันภรรยา และที่ดิน แต่ยังเป็นการเสริมสร้างมิตรภาพระหว่างพี่น้องอีกด้วยค่ะ 

ข้อดี และข้อเสียของ Tibetan Polyandry 

ข้อดี

  1. การรักษาทรัพยากรและมรดกของครอบครัว : Polyandry ช่วยให้ที่ดินและทรัพย์สินไม่ถูกแบ่งแยกไปในครอบครัวอื่น ทำให้มรดกอยู่ในมือของครอบครัวเดียวกัน จึงรักษาความมั่นคงทางการเงินและทรัพยากรในครอบครัวได้อย่างยั่งยืน
  2. ลดการแข่งขันในครอบครัว : การที่พี่น้องแต่งงานกับภรรยาคนเดียวกัน ช่วยลดการแย่งชิงทรัพยากรหรือพื้นที่บ้าน ทำให้เกิดความกลมเกลียวในครอบครัว พี่น้องยังแบ่งหน้าที่รับผิดชอบและดูแลกันอย่างเข้าใจอีกด้วย
  3. ลดภาระทางเศรษฐกิจ : เนื่องจากการอยู่ร่วมกันในครอบครัวขนาดใหญ่ทำให้ค่าใช้จ่ายต่างๆ ถูกแบ่งกัน จึงช่วยลดภาระทางเศรษฐกิจโดยรวมในบ้านลงได้ ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากในพื้นที่ที่มีทรัพยากรจำกัด

ข้อเสีย

  1. ความซับซ้อนในความสัมพันธ์ : การอยู่ร่วมกันของหลายคนอาจทำให้เกิดความขัดแย้งหรือความอิจฉาระหว่างพี่น้องได้ บางครั้งการตัดสินใจในครอบครัวอาจไม่ตรงกัน และเกิดความไม่เข้าใจระหว่างกัน
  2. ความยากลำบากในการบริหารทรัพยากร : แม้จะช่วยรักษาทรัพยากร แต่บางครั้งการจัดการทรัพยากรที่ต้องแบ่งใช้ระหว่างหลายคนในครอบครัวอาจทำให้เกิดปัญหาหรือขาดแคลนได้ เช่น การใช้น้ำหรืออาหารที่จำเป็นต่อครอบครัว
  3. ความท้าทายด้านอารมณ์และจิตใจ : การใช้ชีวิตในระบบ Polyandry ต้องการความเข้าใจและการปรับตัวสูง ซึ่งบางครั้งอาจทำให้คนในครอบครัวเกิดความเครียด โดยเฉพาะหากมีสมาชิกคนใหม่เข้ามาในครอบครัว

ปัจจัยของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมสมัยใหม่

Tibetan Polyandry1

ในปัจจุบัน วัฒนธรรม Polyandry ก็ได้เผชิญกับปัจจัยทางสังคมสมัยใหม่มากมาย เช่น คนรุ่นใหม่ได้รับการศึกษาแบบสมัยใหม่ การย้ายถิ่นฐานเข้าเมือง อิทธิพลของสื่อ และวัฒนธรรมตะวันตกที่เข้ามาในทิเบต แต่ก็ยังมีประเด็นที่น่าสนใจ คือ หลายครอบครัวยังคงรักษาประเพณีนี้ไว้ โดยปรับให้เข้ากับยุคสมัย เช่น ใช้เทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสาร ผสมผสานธุรกิจสมัยใหม่กับวิถีชีวิตดั้งเดิม สร้างความเข้าใจกับสังคมภายนอกมากขึ้น

เสน่ห์ของวัฒนธรรมการแต่งงานแบบทิเบต

การแต่งงานแบบ Polyandry ไม่ใช่แค่เรื่องของการอยู่ร่วมกัน แต่ยังมีประเพณีและพิธีกรรมที่สวยงามมาก ๆ 

  1. เจ้าสาวสวมชุดประจำเผ่าที่สวยงาม และเป็นเอกลักษณ์ : เจ้าสาวจะสวมชุดที่ตัดเย็บด้วยมือ มีสีสันสดใส และประดับด้วยอัญมณีตามประเพณีของทิเบต สะท้อนความเป็นเอกลักษณ์และรากเหง้าของชาวทิเบต
  2. มีการเต้นรำและร้องเพลงพื้นเมือง : ในงานแต่งงานแบบ Polyandry แขกและครอบครัวจะร่วมกันเต้นรำและร้องเพลงพื้นเมืองที่มีจังหวะสนุกสนาน เป็นการเฉลิมฉลองที่อบอุ่นและเป็นกันเอง
  3. พิธีกรรมทางศาสนาที่ศักดิ์สิทธิ์ : การแต่งงานมักประกอบด้วยพิธีทางศาสนาเพื่ออวยพรให้ชีวิตครอบครัวราบรื่นและมีความสุข ทำให้การแต่งงานนี้เป็นทั้งการสืบทอดวัฒนธรรมและความเชื่อที่ฝังแน่น

ด้วยเสน่ห์ของวัฒนธรรมการแต่งงานแบบ Polyandry ทำให้การแต่งการชาวธิเบตไม่เพียงเป็นเรื่องของการใช้ชีวิตร่วมกัน แต่เป็นการเฉลิมฉลองความงดงามทางวัฒนธรรมที่ยังคงสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นอีกด้วยค่ะ

คำถามที่พบบ่อย

บทส่งท้าย

วัฒนธรรม Polyandry ในทิเบตได้สะท้อนให้เห็นว่าไม่มีรูปแบบการแต่งงานใดที่ “ถูก” หรือ “ผิด” อย่างสมบูรณ์ เพราะทุกอย่างล้วนพึ่งพาบริบททางสังคม สิ่งแวดล้อม และความจำเป็นของผู้คนในแต่ละพื้นที่ การเรียนรู้ และเข้าใจวัฒนธรรมที่แตกต่าง เปิดโอกาสให้เราได้เห็นโลกในมุมที่กว้างขึ้น และเข้าถึงความหลากหลายของมนุษยชาติได้อย่างลึกซึ้งอีกด้วยค่ะ และหากใครอยากสัมผัสประสบการณ์จริง และเรียนรู้วัฒนธรรม Polyandry อย่างใกล้ชิด ทัวร์ทิเบต คือคำตอบค่ะ! มาร่วมเดินทางไปยังดินแดนแห่งหลังคาโลกกับ TravelZeed สิคะ แล้วคุณจะได้เปิดมุมมองใหม่ๆ ที่คุณอาจไม่เคยพบมาก่อนแน่นอนค่ะ

ขอขอบคุณรูปภาพ และแหล่งข้อมูล : Levine, N. E. (1988), Haddix, K. A. (2001), Tashi Yangzom (2015), Goldstein, M. C. (1976), mixmaya.com, Tibet Tour

Facebook Comments
Scroll to Top