อัพเดท! สายการบินไหน “ห้ามใช้&ชาร์จ” Power bank ขณะอยู่บนเครื่อง

ช่วงนี้ข่าวสายการบินออกกฏใหม่ ห้ามใช้เพาเวอร์แบงค์ขณะอยู่บนเครื่องเพียบ! ดังนั้น วันนี้ Travelzeed จะพาไปดูเหตุผลเบื้องลึกเบื้องหลัง และวิธีรับมือกับกฏใหม่เหล่านี้กันเถอะ!!

ทำไมถึงมีการห้ามใช้พาวเวอร์แบงค์บนเครื่องบิน?

จากเหตุการณ์ไฟไหม้ที่เกิดจากพาวเวอร์แบงค์บนเครื่องบินบ่อยครั้งในปี 2025 โดยเฉพาะเหตุการณ์ที่สร้างความตื่นตระหนกที่สุด คือ ไฟไหม้บนเที่ยวบินของ Air Busan ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งมีสาเหตุมาจากพาวเวอร์แบงค์ระเบิด ทำให้สายการบินและหน่วยงานด้านการบินทั่วโลกต้องออกมาตรการเข้มงวดขึ้น

เริ่มตั้งแต่ 1 มีนาคม 2568 เป็นต้นไป หลายสายการบินทั่วโลก ออกกฎห้ามใช้หรือชาร์จพาวเวอร์แบงค์ขณะบิน เพื่อป้องกันอันตราย โดยเฉพาะสายการบินในเกาหลีใต้ที่บังคับใช้กับทุกสายการบินในประเทศ

ไทยและอีกหลายประเทศเริ่มใช้มาตรการนี้แล้ว

  • ไทย: สายการบิน Thai ออกกฎนี้ตั้งแต่ 15 มีนาคม 2568
  • ออสเตรเลีย และไต้หวัน: เริ่มใช้แล้ว 
  • สิงคโปร์: เริ่มใช้ตั้งแต่ 1 เมษายน 2568
  • ฮ่องกง: จะเริ่มใช้ในวันที่ 7 เมษายน 2568

นโยบายนี้มีขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงจากแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนที่อาจเกิดความร้อนสูงจนลุกไหม้ หรือระเบิดโดยไม่คาดคิด ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อผู้โดยสารและลูกเรือบนเที่ยวบิน ดังนั้น ก่อนขึ้นเครื่อง ผู้โดยสารควรตรวจสอบกฎของสายการบินให้แน่ใจ เพื่อปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยล่าสุด

แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนตัวเจ้าปัญหา

ปัจจุบัน แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน (Li-ion) กลายเป็นส่วนสำคัญของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ แล็ปท็อป หรือพาวเวอร์แบงค์ เรียกได้ว่าแทบทุกคนล้วนเคยใช้งานแบตเตอรี่ชนิดนี้ โดยเฉพาะในยุคที่สมาร์ทโฟนกลายเป็นสิ่งจำเป็น ทำให้ “พาวเวอร์แบงค์” กลายเป็นอุปกรณ์คู่กายของใครหลายคน

อย่างไรก็ตาม “เพาเวอร์แบงค์” ก็มาพร้อมกับปัญหาหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นข้อบกพร่องจากกระบวนการผลิต การใช้งานที่ไม่ถูกต้อง หรืออายุการใช้งานที่เสื่อมลงตามเวลา ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเพิ่มความเสี่ยงให้กับอุปกรณ์

หนึ่งในอันตรายที่สำคัญคือ ปรากฏการณ์ “Thermal Runaway” ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อแบตเตอรี่เกิดความร้อนสะสมมากเกินไปจนควบคุมไม่ได้ และอาจนำไปสู่การลุกไหม้หรือแม้แต่การระเบิดที่รุนแรง ยิ่งไปกว่านั้น แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนยังบรรจุด้วยวัสดุที่มีปฏิกิริยาสูงและติดไฟง่าย ทำให้เป็นแหล่งกำเนิดเพลิงที่ควบคุมได้ยากหากเกิดเหตุไม่คาดฝัน

เหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นจาก แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน

  • ปี 2023: ไฟไหม้จากพาวเวอร์แบงค์ในช่องเก็บสัมภาระเหนือศีรษะของเที่ยวบิน Lufthansa ทำให้ต้องลงจอดฉุกเฉิน

  • ปี 2018: แบตเตอรี่สำรองเกิดไฟลุกไหม้บนเครื่องบิน China Southern Airlines ขณะเครื่องจอดอยู่ที่สนามบิน

  • ปี 2016: Samsung Galaxy Note 7 ที่ใช้แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน ถูกแบนจากทุกสายการบินทั่วโลก เนื่องจากมีรายงานว่าระเบิดหลายครั้ง

สายการบินไหนบ้างที่ประกาศห้ามใช้เพาเวอร์แบงค์ขณะอยู่บนเครื่อง 

สายการบินเกาหลีใต้

  • Korean Air
  • Asiana Airlines
  • Jeju Air
  • Jin Air
  • Air Busan
  • Air Seoul
  • T’way Air Premia
  • Eastar Jet 

สายการบินไต้หวัน

  • EVA Air
  • China Airlines
  • STARLUX Airlines
  • Tigerair Taiwan
  • UniAir

สายการบินออสเตรเลีย

  • Virgin Australia
  • Qantas

สายการบินไทย

  • Thai Airways

สายการบินสิงคโปร์

  • Singapore Airlines เริ่มใช้ 01/04/2025
  • Scoot เริ่มใช้ 01/04/2025

สายการบินฮ่องกง

  • Cathay Pacific เริ่มใช้ 07/04/2025
  • Hongkong airlines เริ่มใช้ 07/04/2025

เรายังสามารถนำเพาเวอร์แบงค์ขึ้นเครื่องได้มั้ย? 

ได้ แต่ต้องเป็นพาวเวอร์แบงค์ที่มีความจุ ไม่เกิน 20,000 mAh และจำกัด ไม่เกิน 2 ก้อนต่อคน ซึ่งเป็นมาตรฐานที่สายการบินส่วนใหญ่กำหนดไว้ อย่างไรก็ตาม ควรตรวจสอบกฎของแต่ละสายการบินอีกครั้งก่อนเดินทาง เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถนำขึ้นเครื่องได้อย่างถูกต้อง

การเตรียมเพาเวอร์แบงค์ ก่อนและขณะขึ้นเครื่องบิน

  • ตรวจสอบว่าเพาเวอร์แบงค์มีการบอกรายละเอียดที่ครบถ้วน เช่น ยี่ห้อ สเปค ขนาดบรรจุ 
  • ตรวจสอบสัญลักษณ์มาตรฐาน เช่น CE, FCC, RoHS, มอก.
  • ชาร์จให้เต็มก่อนบิน
  • ห้ามใช้บนเครื่องบิน 
  • ห้ามเก็บไว้ในตู้สัมภาระ *บางสายการบินเก็บได้แต่ไม่แนะนำ

ส่งท้าย

กฎห้ามใช้หรือชาร์จพาวเวอร์แบงค์ขณะบิน ที่เริ่มบังคับใช้ในหลายประเทศตั้งแต่ปี 2568 นี้ เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารและลูกเรือ ดังนั้น ก่อนเดินทาง ควรศึกษากฎระเบียบของแต่ละสายการบินให้ดี และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ทุกเที่ยวบินปลอดภัยและไร้ปัญหา 

หากใครสนใจ ทัวร์ต่างประเทศ ไม่ต้องวางแพลนเดินทาง สามารถปรึกษาปัญหาการเดินทางได้ สอบถาม TRAVELZEED เข้ามาได้เลย! 

Facebook Comments
Scroll to Top